• หน้าหลัก
  • แหล่งความรู้ / คลังวิดีโอ
    • ขั้นตอนการสมัคร
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • กลไกการจัดการลดอุบัติเหตุของประเทศไทย
    • สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ
    • หลักการวิเคราะห์จุดเสี่ยง
    • การสร้างวิถีชุมชนใหม่ สร้างความปลอดภัยทางถนน
    • เทคนิคการถ่ายภาพ
    • เทคนิคการเล่าเรื่อง ให้สะท้อนภาพปัญหาจุดเสี่ยง
    • หลักวิเคราะห์ฮิยาริฮัตโตะ
    • อื่น ๆ
  • ผลงานที่ผ่านมา
    • พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย ปี 3
    • พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย ปี 2
    • พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย ปี 1
    • Safer on the Road
  • ดาวน์โหลด
  • เกี่ยวกับเรา
    • เกี่ยวกับหน่วยงาน
    • คณะกรรมการและที่ปรึกษา
    • ติดต่อเรา
  • สมัครเข้าร่วมโครงการ
  • หน้าหลัก
  • ขั้นตอนการสมัคร

ร่วมกันลดจุดเสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุในเขตถนนชุมชน
เพียงแค่ 7 ขั้นตอน ก็สามารถสร้างถนนของชุมชนให้ปลอดภัยได้

ทุกขั้นตอนการสมัครมีความสำคัญ ทำอย่างรอบคอบและครบถ้วน หลังจากได้รับข้อมูลโครงการจากหน่วยงานท้องถิ่นหรือเครือข่ายชุมชนและสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของเครือข่าย รวมทั้งของบมจ. ธนชาตประกันภัยแล้ว

ขั้นตอนการสมัครร่วมโครงการพลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย มีทั้งสิ้น 7 ขั้นตอน ผู้สมัครต้องทำทีละขั้นตอนตั้งแต่ 1 - 7 โดยสามารถกรอกข้อมูลทีละขั้นตอน หรือกรอกครั้งเดียวเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมและส่งโครงการเข้าสู่ระบบ 

  • ขั้นตอนที่ 1  หาแนวร่วม  ไม่น้อยกว่า 4 คน จากหลากหลายอาชีพ เพื่อให้ได้มุมมองสะท้อนปัญหาที่หลากหลาย และได้บทสรุปที่ตรงจุด จากนั้นนัดประชุมทีมพร้อมลงรายชื่อและถ่ายภาพบรรยากาศการประชุม ที่ประชุมช่วยกันนำเสนอจุดที่เสี่ยงอุบัติเหตุในชุมชน สรุปเป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อส่งเข้าร่วมโครงการโดยทุกจุดต้องเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของ อบต.หรือเทศบาลเท่านั้น เพื่อประสิทธิภาพในการประสานงานด้านต่างๆ
  • ขั้นตอนที่ 2 วาดแผนที่ ปักหมุดจุดเสี่ยง โดยทีมงานต้องลงไปในพื้นที่จุดเสี่ยงที่เลือกไว้ เพื่อวาดภาพที่แสดงพิกัดจุดเสี่ยง ชื่อถนน ชื่อแยกรวมถึงสถานที่สำคัญโดยรอบ พร้อมลงรายชื่อและถ่ายภาพการลงพื้นที่
  • ขั้นตอนที่ 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนลงพื้นที่ ศึกษาข้อมูลโดยเข้าที่เว็บไซต์พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย รับชมวิดีโอข้อมูลวิเคราะห์จุดเสี่ยง เพื่อเป็นแนวทางให้ทีมงานสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนถนนของชุมชนว่าเป็นเพราะปัญหาทางกายภาพหรือพฤติกรรมทางสังคมหรือจากทั้งสองสาเหตุ และรับชมวิดีโอเรียนรู้เทคนิควิธีการถ่ายภาพจุดเสี่ยง เพื่อเป็นแนวทางให้ทีมงานสามารถถ่ายภาพที่สื่อความหมายได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของโครงการ
  • ขั้นตอนที่ 4 คัดเลือกจุดเสี่ยง โดยทีมงานต้องเลือกจุดเสี่ยงที่จะนำเสนอเข้าร่วมโครงการ 2 จุด และนำภาพถ่ายในมุมต่างๆ ซึ่งถ่ายได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด ส่งมาพร้อมรายชื่อของทีมงาน
  • ขั้นตอนที่ 5 ผนึกกำลังร่วมแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ทีมงานต้องเข้าหาหน่วยงานที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอคำแนะนำในการวิเคราะห์ และแนวทางการแก้ไขจุดเสี่ยงที่ส่งเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งส่งรายชื่อทีม รายชื่อที่ปรึกษา และรายชื่อผู้ประสานงาน รวมถึงการดำเนินการเอกสารรับรองหรือหนังสือแสดงเจตจำนงส่งเข้ามาที่โครงการ  ซึ่งแบบฟอร์มและคำแนะนำสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ หัวข้อดาวน์โหลด
  • ขั้นตอนที่ 6 ร่วมวิเคราะห์ วางแผนแก้ไข  ขั้นตอนสำคัญที่มีผลกับคะแนนในการตัดสินของคณะกรรมการ ซึ่งจะพิจารณาว่าทีมงานเข้าใจปัญหาในพื้นที่จริงหรือไม่/ผ่านการวิเคราะห์สาเหตุของจุดเสี่ยง  และคะแนนสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด มีความเป็นไปได้และอยู่ภายใต้งบประมาณสนับสนุน 200,000 บาท
  • ขั้นตอนที่ 7 ยืนยันความถูกต้อง  หลังจากดำเนินการขั้นที่ 1-6 เพื่อความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมดควรตรวจสอบทีละขั้นตอนอีกครั้ง เพื่อให้ผลงานของทีมงานมีความครบถ้วนสมบูรณ์ จากนั้นกดปุ่มยืนยันการสมัคร ข้อมูลจะถูกส่งเข้าสู่ระบบและได้รับการยืนยันการรับข้อมูลสำเร็จ

สมัครเข้าร่วมโครงการ

ติดต่อสอบถาม

02-308-9330

นโยบายการใช้งานส่วนบุคคล และ นโยบายการใช้คุกกี้

ช่องทางติดตามข่าวสาร facebook YouTube

Copyright © 2021 thanachart insurance. all rights reserved