• หน้าหลัก
  • แหล่งความรู้ / คลังวิดีโอ
    • ขั้นตอนการสมัคร
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • กลไกการจัดการลดอุบัติเหตุของประเทศไทย
    • สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ
    • หลักการวิเคราะห์จุดเสี่ยง
    • การสร้างวิถีชุมชนใหม่ สร้างความปลอดภัยทางถนน
    • เทคนิคการถ่ายภาพ
    • เทคนิคการเล่าเรื่อง ให้สะท้อนภาพปัญหาจุดเสี่ยง
    • หลักวิเคราะห์ฮิยาริฮัตโตะ
    • อื่น ๆ
  • ผลงานที่ผ่านมา
    • พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย ปี 3
    • พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย ปี 2
    • พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย ปี 1
    • Safer on the Road
  • ดาวน์โหลด
  • เกี่ยวกับเรา
    • เกี่ยวกับหน่วยงาน
    • คณะกรรมการและที่ปรึกษา
    • ติดต่อเรา
  • สมัครเข้าร่วมโครงการ
  • หน้าหลัก
  • เรียนรู้จุดเสี่ยงบนถนน

ชุมชนของท่าน มีจุดเสี่ยงอันตรายเหล่านี้หรือไม่ ?

ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะมีผลต่อเกณฑ์การตัดสินคะแนนทีมงานแต่ละคนต้องช่วยกันวิเคราะห์ความเสี่ยงให้ชัดเจนว่าสาเหตุของความเสี่ยงจนเกิดเป็นอุบัติเหตุตรงจุดนั้นมาจากปัจจัยทางด้านกายภาพหรือเป็นเพราะพฤติกรรมทางสังคม หรือเกิดขึ้นจากทั้ง 2 ปัจจัย 

เลือกอย่างไร ? ว่าจุดไหนเป็นจุดเสี่ยงอันตราย (Black Spot) ทางถนน

เบื้องต้นให้เลือกจากจุดที่มีคนในชุมชน หรือชุมชนใกล้เคียงใช้สัญจรไปมาเป็นประจำเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่รวมกลุ่มของคนในชุมชน เช่น โรงเรียน วัด ตลาด และเป็นจุดซึ่งเกิดอุบัติเหตุอย่างน้อย 3 ครั้งในรอบปี และ/หรือมีความสูญเสียจากอุบัติเหตุสูงอาจเป็นได้ทั้งทางแยก ทางตรง ทางโค้ง ทางแคบ จุดกลับรถหรือแม้แต่ทางข้าม และบริเวณสภาพถนนที่มีความความบกพร่องโดยใช้ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนคนบาดเจ็บ คนเสียชีวิต (ไม่จำเป็นต้องมีตัวเลขสถิติ) เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุในจุดนั้น โดยจุดดังกล่าวยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ารับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขรวมทั้งประเมินแล้วว่าสามารถดำเนินงานได้ภายในวงเงินงบประมาณ 200,000 บาท

ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย ชี้จุดเสี่ยงอันตรายบนท้องถนนไว้ดังนี้

  • ริมไหล่ทาง ถือเป็นจุดอันตรายที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากหากมีรถจอดริมข้างทางแล้วมีรถแซงซ้ายด้วยความเร็วสูงและผู้ขับขี่ไม่ทราบว่ามีรถจอดกีดขวางเส้นทางอยู่อาจหยุดรถไม่ทัน ทำให้พุ่งชนรถที่จอดริมข้างทางอย่างรุนแรง
  • บริเวณทางขึ้น-ลงสะพาน ถนนที่มีไหล่ทางแคบหรือมีลักษณะเป็นคอคอด เป็นมุมอับที่ทัศนวิสัยการมองเห็นไม่ชัดเจน มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง 
  • สี่แยก เป็นจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุทางถนนในลักษณะรุนแรงเนื่องจากรถที่วิ่งผ่านทางแยกมักใช้ความเร็วสูง
  • ทางโค้ง การขับรถบนทางโค้งมีลักษณะเช่นเดียวกับการขับรถบนถนนที่แคบหากใช้ความเร็วสูงอาจทำให้หลุดโค้งหรือวิ่งทับช่องทางของรถคันอื่นได้
  • มุมถนนที่มีกำแพง โดยเฉพาะตามตรอกหรือซอยแคบๆ หากมีกำแพงตรงทางโค้งหรือทางแยกจะบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น
  • จุดกลับรถ เป็นจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุทางถนนอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากความประมาทของผู้ขับขี่ที่มักจะไม่หยุดรถรอในจุดที่กำหนดและเลื่อนรถไปกีดขวางช่องทางจราจร หรือประเมินระยะทางกับความเร็วของออกรถกับรถที่วิ่งตรงผิดพลาด
  • ทางแยกวัดใจที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร นอกจากจะไม่รู้ว่าใครควรจะได้ไปก่อนไปหลัง เพราะดูไม่ออกว่าทางไหนทางเอกทางไหนทางโทแล้วบางจุดยังมองไม่เห็นว่าอีกทางจะมีรถวิ่งสวนมาหรือไม่ หรือมองเห็นแค่มุมตรงไปเพียงมุมเดียว
  • ทางโค้งหักศอกในชุมชน มองไม่รู้ว่าเป็นโค้งแบบไหน โค้งซ้ายโค้งขวา โค้งมากแค่ไหน มองไม่เห็นหลังโค้ง ไม่เห็นรถที่สวนมา โค้งที่มักจะมีรถวิ่งหลุดโค้งตกไหล่ทางออกไปชนต้นไม้หรือเสาไฟข้างทาง หรือถ้าไม่หลุดโค้งก็วิ่งชนประสานงากับรถที่วิ่งตัดโค้งสวนมา 

ติดต่อสอบถาม

02-308-9330

นโยบายการใช้งานส่วนบุคคล และ นโยบายการใช้คุกกี้

ช่องทางติดตามข่าวสาร facebook YouTube

Copyright © 2021 thanachart insurance. all rights reserved